• รายงาน - สกู๊ป
    Boat-crashes-life3
    เรือผู้อพยพล่มที่ลิเบีย 90 กว่าชีวิตรอดเพียง 3 คน

    เกิดเหตุการณ์น่าสลดขึ้นเมื่อมีผู้รอดชีวิตเพียงสามคนเมื่อเรือขนลักลอบขนผู้อำนวยพลกว่า 90 คนล่มนอกชายฝั่งของลิเบีย ตามข้อมูลจาก IOM มีผู้อพยพและผู้ลี้ภัยกว่า 6,600 คนได้เข้าสู่ยุโรปโดยทางทะเลในปี พ.ศ. 2561 เรือที่ล่มนั้นใช้เส้นที่นักลักลอบชอบหลบหลีกตำรวจเพื่อนำสินค้าหรือคนเข้ามาจากประเทศอิตาลีผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเป็นเหตุให้เกิดการเรือล่มนอกชายฝั่งเมือง Zuwara ในช่วงเช้าของวันศุกร์ โดยมีผู้รอดชีวิตอย่างน้อย 3 คน โดย 2 คนเป็นชาวปากีสถาน ที่สามารถว่ายน้ำเข้าฝั่งได้ และอีกคนคือชาวลิเบียที่ถูกช่วยเหลือจากชาวประมงในท้องที่ ระหว่างที่มีศพผู้เสียชีวิตกว่า 10 ถูกพัดเข้ามาเกยฝั่ง โดยระบุสัญญาติได้คือคนปากีสถาน 8 คน และ 2 คนเป็นชาวลิเบีย จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต คนส่วนใหญ่บนเรืออพยพนั้นเป็นชาวปากีสถานทั้งสิ้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ส่งตัวแทน Olivia Headon หาสาเหตุและสรุปได้ว่าเรือที่จมอาจมีปัยจัยหลักจากการบรรทุกผู้โดยสารที่มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เรือล่มในที่สุด บรัสเซลส์ได้ออกมาพูดถึงจุดยืน และพยายามให้ความช่วยเหลือในการกู้ภัยต่อไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงออกมาต่อกรกับผู้ค้ามนุษย์และแรงงานที่ทะให้ชีวิตของผู้อพยพเป็นอันตราย พร้อมชี้ว่าทุกชีวิตมีความหมาย IOM ได้ออกมากล่าวอีกว่านี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เพราะในหมู่คนที่เสียชีวิตคือชาวลิบยัน ตั้งแต่ปี 2017 มีชาวลิบยันที่ถูกช่วยเหลือ หรือจากการสกัดจับได้จากการพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ไม่มีรายงานว่ามีชาวลิบยันเสียชีวิตเลยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยชี้ว่าชาวลิบยันเป็นชนกลุ่มที่พยายามจะเดินทางลี้ภัยเข้ามายังยุโรป ส่วนชาวปากีสถานนับเป็นอันดับที่ 13 ของกลุ่มที่พยายามข้ามมายังยุโรปผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรอบปี […]

  • รายงาน - สกู๊ป
    gaddafi-libya-daily
    ประวัติความเป็นมาของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี่ “สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง” อดีตผู้นำลิเบีย

    ถ้าจะให้คุณอธิบายถึงคนบางคนอย่างกัดดาฟี่ คุณจะอธิบายเรื่องราวเขาออกมาได้ในทิศทางไหนกัน ในช่วงระยะเวลากว่าหกสิบปีที่ผู้นำชาวลิเบียคนนี้ได้ขึ้นมาแสดงตัวตนต่อเวทีโลก ด้วยสไตล์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีคำไหนที่จะอธิบายการกระทำของเขาได้ดีนอกจากคำว่า “นอกรีต” ที่เขาปกครองบ้านเมืองด้วยความอยุติธรรมแบบสุดโต่ง การปกครองของเขามันอยู่เหนือเกินกว่าคำว่าการปฏิวัติ เป็นผู้ที่ทำให้บ้านเมืองกลับสู่ยุคป่าเมืองเถื่อนอีกครั้ง ประชาชนตาดำๆ จะต้องหวาดระแวงและใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นสุข กัดดาฟี่พยายามสร้างปรัชญาทางการเมืองเป็นของตัวเอง พยายามเขียนหนังสือที่มีอิทธิพลต่อจิตใจ อย่างน้อยก็กับตัวผู้เขียนเอง มีเต็มไปด้วยเรื่องราวและอุดมการณ์ลมๆ แร้งๆ เขาใช้ชีวิตของเขาในการปฏิรูปตนเองและทำการปฏิวัติประเทศในรูปแบบของเขา นักวิจารณ์อาหรับคนหนึ่งเรียกเขาว่า “ปีกัสโซแห่งตะวันออกกลาง” ถึงยังไงก็ตามเขาก็ไม่อาจต้านทานกระแสประชาชนที่ไม่อาจยอมรับในตัวเขาได้ เรื่องราวเริ่มขึ้นในช่วงเช้าวันหนึ่งของปี 1969 เมื่อเขาขึ้นครองอำนาจจากการใช้กำลังทางทหาร และในต้นปี 1970 กัดดาฟี่กลายเป็นนายทหารหนุ่มที่มีพรสวรรค์ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศเพียงข้ามวัน การต่อมาเขาก็เริ่มคิดถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการขุดเจาะน้ำมัน และมีการค้นพบแหล่งน้ำมันสำคัญๆ ในลิเบียในช่วงปลายทศวรรษ 1950 แต่กลับกลายเป็นว่ามันเป็นทรัพย์สินของ บริษัท ปิโตรเลียมในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดราคาเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคภายในประเทศของตนและได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งจากรายได้ กัดดาฟี่ เรียกร้องเจรจาต่อรองโดยให้ทำสัญญากัน แถมขู่ว่าจะปิดการผลิตหาก บริษัท น้ำมันปฏิเสธ เขาได้ท้าทายผู้บริหารน้ำมันจากต่างประเทศโดยบอกว่า “คนที่มีชีวิตอยู่โดยปราศจากน้ำมันเป็นเวลา 5,000 ปี สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้พวกมันอีกสักสองสามปี เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย” การพนันของเขาในครั้งนี้เป็นผลสำเร็จและทำให้ลิเบียได้พัฒนาเติบโตได้จากรายได้ของน้ำมันดิบที่ผลิตในประเทศ และประเทศก็มีสิทธิมีเสียงในหมู่มหานอำนาจมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วรูปแบบการปกครองเขาก็ก็เริ่มส่อมีปัญหา เมื่อกลุ่มประชาชนเริ่มทำการก่อกบฎขึ้นจากความไม่พอใจการปกครองของเขา เป็นผลให้ผู้นำเผด็จการคนนี้ถูกจับและสังหารในวันที่ 20 ตุลาคม ปี 2011 ระหว่างสมรภูมิ Sirte […]

  • ข่าวต่างประเทศ
    400 corpse
    400 กว่าศพ ในสถานการณ์ระเบิดของการปะทะกันในกรณีศาลเตี้ย

    เหตุการณ์ความไม่สงบของลิเบียยังคงไม่ทีท่าจะว่าปลอดภัย เมื่อดูจากตัวเลขของผู้สูญเสียชีวิตจากผลพวงของความรุ่นแรงที่ฆ่าชีวิตประชาชนไปกว่า 433 ศพ โดยรวมไปด้วยเด็กกว่า 79 คน และผู้หญิงอีก 10 คน โดยเป็นลูกหลงจากการโจมตีของกลุ่มคนติดอาวุธ ตั้งแต่ถูกอาวุธปืนสังหาร จนถึงการโดนสะเก็ดระเบิด โดยตัวเลขนี้มาจากรายงานของกลุ่มนักสิทธิมนุษย์ชนของลิเบียโดยตรง โดยในจำนวนที่เหลือกว่า 201 คนที่ถูกลูกหลงจากความรุนแรงจากทั่วหลายจังหวัดของทางลิเบีย โดยในจำนวนนั้นกว่า 157 คนเป็นประชาชนทั่วไป โดยพื้นที่สีแดงประกอบไปด้วย Tripoli, Sabha, Benghazi, Zawiya, Sabratha และเมืองอื่นๆ อีกสามเมือง หน่วยงานสิทธิมุนษย์ชนของลิเบีย NHRC รายงานเข้ามาอีกว่าจำนวน 143 ถูกจับตัวด้วยกำลังแบบไร้เหตุผล และอีก 186 คนที่ถูกลักพาตัวไปและปัจจุบันยังไม่รู้ชะตากรรมของพวกเขาว่าเป็นตาย ร้ายดีอย่างไร โดยมีหลักฐานความผิดอย่างชัดเจน 34 คดีที่สามารถเอาผิดได้ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่ การกักขังหน่วงเหนี่ยว การทรมาน จนทำให้ทั้งนักข่าว และนักสิทธิมนุษย์ชนถูกขู่ฆ่าจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ปัญหาที่เกิดขึ้นยังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชาชนยังคงทุกข์ทรมานจากวิกฤติด้านมนุษยธรรมและการมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ประชากรขาดแคลนอาหารและการเข้าถึงยารักษาที่จำเป็น กว่า 3.5 ล้านชีวิตที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรวมถึงทางด้านการแพทย์ ในจำนวน 3.5 ล้านคนประกอบไปด้วยผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวน 391,416 ราย […]

  • รายงาน - สกู๊ป
    BenghaziPort-Libya-ship
    ลิเบียเปิดท่าเรือ Benghazi อีกครั้ง

    ท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ณ เมือง Benghazi ซึ่งอยู่ริมฝั่งของทะเล Mediterranean ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลิเบีย ได้เปิดทำการใหม่อีกครั้งในวันอาทิตย์ หลังจากที่ปิดร้างไปนาน 3 ปี อันมีสาเหตุมาจากการสู้รบ สำนักข่าว AFP และสำนักข่าว Reuter ได้ออกมารายงานข่าวความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ณ เมือง Benghazi ประเทศลิเบีย ว่า การพาณิชย์ที่ท่าเรือ Benghazi ได้ถูกระงับลงเมื่อปี ค.ศ.2014 เนื่องจากในตอนนั้นกลุ่มติดอาวุธหลายต่อหลายกลุ่มรวมถึงกลุ่มก่อการร้าย IS ทำการเข้ายึดครองเมืองขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศลิเบีย รวมทั้งประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา หลังจากสถานการณ์ไม่สู้ดีเท่าไหร่กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ก็ถูกขับไล่ออกไปในตอนต้นเดือน กรกฎาคมปีนี้ จากฝีมือกองกำลังของ จอมพล Khalifa Haftar ซึ่งมอบการสนับสนุนให้แก่รัฐบาลทางตะวันออก โดยเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลภาคตะวันตกในกรุง Trípolis ที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ให้การยอมรับ โดยการเปิดท่าเรือในครั้งนี้นายกรัฐมนตรี Abdullah Al Thani  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาลของลิเบียภาคตะวันออก เดินทางไปเป็นประธานพิธีการเปิดใช้ท่าเรือ Benghazi  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม […]

  • บทความ
    Mohamed-Zenati-topidal
    Mohamed Zenati บนเส้นทางแห่งการต่อสู้ของลิเบีย

    ประเทศลิเบีย สร้างข่าวใหญ่ให้โลกในปีนี้ พ.ศ.2560 อีกครั้ง เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาตรการห้ามพลเรือนต่างชาติเดินทางเข้าสหรัฐ ได้แก่ 8 ประเทศ ดังนี้  อิหร่าน, ซีเรีย, เยเมน, โซมาเลีย, เกาหลีเหนือ,  เวเนซุเอลา, ชาด แน่นอนว่ามีลิเบียรวมอยู่ด้วย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2560 เพราะประธานาธิบดี Donald Trump  ต้องการทำให้สหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยมากที่สุด คือ จะไม่ให้บุคคลซึ่งไม่สามารถตรวจสอบในเรื่องของความปลอดภัยเข้ามา ต่อมากลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560ได้มีการเปิดเผยข่าวซึ่งเกี่ยวกับการประมูลผู้อพยพในบริเวณรอบกรุง Tripoli เป็นวงกว้าง ซึ่งกรุงTripoli เป็นเมืองหลวงของประเทศลิเบีย และเป็นจุดผ่านสำคัญ ของผู้อพยพซึ่งพยายามข้ามไปในยุโรป ดินแดนที่ทุกคนใฝ่ฝันเพราะต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งจากการมีผู้อพยพจำนวนมากนี้ ทำให้พวกเขาตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดอย่างรุนแรง จากฝีมือของพวกค้ามนุษย์รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ข่าวนี้กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในสังคมออนไลน์ จึงทำให้เกิดแรงโกรธแค้นอย่างมหาศาลทั้งในประเทศแอฟริกา, ยุโรป รวมทั้งส่วนอื่นๆ ของโลก จนกระทั่งมีการเรียกร้องให้ทางรัฐบาลของลิเบีย และองค์กรระหว่างประเทศทำอย่างไรก็ได้ให้ยุติการกระทำนี้โดยเร็วที่สุด ต่อมานายทางทีมข่าวของประเทศไทยได้มีโอกาสพูดคุยกับนาย Mohamed A. Zenati […]

  • ข่าวต่างประเทศ
    libyadaily_artical
    ความรุนแรงของสงครามกลางเมืองลิเบีย

    สงครามกลางเมืองลิเบีย ปี 2011 เป็นสงครามแห่งความขัดแย้งติดอาวุธเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐอันไม่ชอบธรรมโดยมี พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี เป็นผู้นำรัฐแบบเผด็จการที่ครองอำนาจมากว่า 40 ปี มีการคอรัปชั่นมากมายจนประชาชนไม่สามารถทนดูได้อีกต่อไปจึงรวมตัวกันลุกฮือทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องให้เขาลาออก และเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยมีผู้นำกลุ่มจัดตั้งรัฐบาลของตนเองที่ใช้ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ อยู่ที่เบงกาซี มีเป้าหมายชัดเจนในการจัดตั้งคือโค่นล้ม กัดดาฟี แล้วเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง แต่ กัดดาฟี ไม่ยอมและยืนยันจะเดินหน้าชนอย่างเต็มที่ เขาใช้มาตรการรุนแรงในการต่อต้านผู้ชุมนุม ใช้กำลังทางทหารที่มีอยู่ในมือ มาตรการปิดกั้นสื่อทุกรูปแบบ กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังไม่ยอมสลายตัวแต่แผ่ขยายลุกฮือมากขึ้นไปทั่วประเทศ จากนั้น กัดดาฟี เลยลองใช้มาตรการเจรจาเพื่อสันติ ส่งผู้แทนเพื่อไปเจรจากับกลุ่มผู้ต่อต้านแต่ก็ได้รับการปฏิเสธ และยังคงยืนกรานว่าให้เขาลาออกเท่านั้น เมื่อได้รับคำตอบกลับมาเช่นนั้น กัดดาฟี ก็ไม่ปรานีปราศรัยอีกต่อไป วันรุ่งขึ้นหลังจากการเจรจาเขาใช้มาตรการรุนแรงสั่งทหารฆ่าประชาชนอย่างผักปลา ทั่วโลกต่างประณามการกระทำของเขาว่าป่าเถื่อนและโหดร้าย องค์กรเพื่อมนุษยชนต่างๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหวแต่ กัดดาฟี ก็ยังไม่สนใจยังคงเดินหน้าการกระทำที่รุนแรงเพื่อถล่มผู้ที่ต่อต้านเขาให้สิ้นซาก โดยเฉพาะฐานที่มั่นใหญ่ๆ แถบชายฝั่งทะเลอย่างเมืองราส ลานุฟ ,เมืองบิน จาวาด และเมืองเบรก้า องค์กรต่างๆ ส่งสัญญาณและมีมาตรการต่างๆ ให้ กัดดาฟี เลิกการกระทำที่ป่าเถื่อนรุนแรงแต่เขาก็ยังไม่สนใจ สุดท้ายยูเอ็นต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดคือการใช้กำลังตอบโต้บ้าง โดยมีพันธมิตรหลายประเทศที่ให้การสนับสนุนการสยบกัดดาฟี ในครั้งนี้ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส […]

  • ข่าวต่างประเทศ
    libya_danger_libyadaily
    สาเหตุความขัดแย้งอันรุนแรงในลิเบีย

    ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในลิเบียเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก ความรุนแรง ความสูญเสียของทั้งสองฝ่ายที่ปะทะกันและผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับลูกหลงอย่างไม่รู้อีโหน่อีเหน่ กว่าเหตุการณ์จะสงบลงก็เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินไปมาก สาเหตุหลักของความขัดแย้งในลิเบียมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในประเทศ จุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งปวงเกิดขึ้นจากการที่ประชาชนทั้งหลายต้องอยู่ใต้อำนาจการปกครองของ พันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ที่ปกครองแบบเผด็จการมากว่า 40 ปี เขาและพรรคพวกทั้งหลายร่ำรวยล้นฟ้าจากการผูกขาดการปกครองไว้และเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตน พวกเขาใช้ชีวิตแสนสุขสบายท่ามกลางประชาชนทั้งประเทศที่ลำบากจากการถูกอำนาจเผด็จการเบียดบังสิ่งที่พวกเขาควรจะได้รับไป เหล่าปวงประชาต่างก็รู้เห็นในสิ่งที่ นายกัดดาฟี กระทำมาตลอด ก็ได้แต่อดทน ไม่สามารถทำอะไรได้ สิ่งนี้กดดันอยู่ในใจประชาชนชาว ลิเบีย มาเนิ่นนานเพราะใครที่แสดงออกถึงการต่อต้าน ก็จะโดนบทลงโทษอย่างรุนแรงและป่าเถื่อน จนในที่สุดถึงจุดแตกหัก สิ่งที่อยู่ภายในปะทุระเบิดขึ้นเมื่อพวกเขาสุดจะทนแล้วจึงพากันออกมาเดินขบวนต่อต้านกันทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องให้ นายกัดดาฟี ลาออก และคืนอำนาจแก่ประชาชน พวกเขาต้องการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่นายกัดดาฟี มีหรือจะยอมง่ายๆ เขาไม่ยอมอะไรทั้งสิ้นอีกทั้งตอบโต้กลับไปอย่างรุนแรง ใช้มาตรการทางทหารลงโทษผู้ต่อต้านเหล่านั้นทั้งบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ชีวิตราวกับเป็นผักปลา อีกทั้งเขายังใช้อำนาจเผด็จการในการปิดกั้นข่าวสารทุกทาง ทั้งสถานีโทรทัศน์วิทยุต่างๆ และสื่อออนไลน์ แม้ว่าเหล่าองค์กรต่างๆ ทั่วโลกมีการเตือนและเคลื่อนไหวให้ นายกัดดาฟีหยุดการกระทำอันป่าเถื่อนโหดร้ายนั้นแต่เขากลับไม่สนใจใยดี ใครต่อต้านเขาก็ต้องตาย ใครสยบจึงจะมีชีวิตอยู่ แต่คราวนี้ประชาชนไม่ยอมอย่างที่เคยเป็นมา ตายเป็นตาย ต่างลุกฮือขึ้นมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพของพวกเขา เหตุการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีการปะทะกันจนเกิดการบาดเจ็บเสียชีวิตมากมายของทั้งฝ่ายและผู้บริสุทธิ์ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ท้ายที่สุดเหล่าองค์กรต่างๆ ทั่วโลกทนไม่ไหวจึงตัดสินใจออกมาใช้กำลังเพื่อช่วยเหลือฝ่ายประชาชน สุดท้ายความพ่ายแพ้ก็มาสู่ นายกัดดาฟีในที่สุด นาโต้จับมือกับฝ่ายต่อต้านตัดสินใจใช้ขีปนาวุธยิง นายกัดดาฟี […]

  • ข่าวต่างประเทศ
    news_russia_libiaya
    รัสเซียและประเทศมหาอำนาจประกาศเป็นผู้ปกครองลิเบีย

    เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซียได้ไปเยือนที่แอลจีเรีย เพื่อเจรจาในปัญหาที่ลิเบียประสบอยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัสเซียยังได้กล่าวด้วยว่า เหตุที่มาเจรจาครั้งนี้ลิเบียเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้มา เขาได้ชี้ถึงการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ระหว่างกรุงมอสโกกับแลจีเรียที่มีลิเบียอยู่ติดชายแดน สะท้อนให้เห็นว่ารัสเซียกำลังยื่นมือเข้ามาช่วยในวิกฤตของลิเบียและแอฟริกาในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของรัสเซียยังได้กล่าวชื่นชมในการช่วยเหลือของแอลจีเรีย ที่ช่วยควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นลิเบียได้อย่างดี รวมไปถึงประเทศอื่นๆ แถบแอฟริกาด้วย แต่อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกัน กองกำลังหน่วยรบพิเศษของอังกฤษต่างก็ได้เตรียมตัวเข้าประจำการทางพื้นที่ตอนใต้ของตาบรูค พร้อมทั้งมีการเตรียมความพร้อมที่จะทำการเข้าแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พร้อมกันนั้นก็มีรายงานจากสำนักงานข่าวของต่างประเทศด้วยว่ามีกองกำลังของทหารฝรั่งเศสจำนวนหนึ่ง ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการลับในลิเบีย แต่เมื่อก่อนหน้านี้ไม่นานสหรัฐฯ ก็เคยได้โจมตีกลุ่มผู้ก่อการร้ายในลิเบีย แถมยังเป็นการโจมตีอย่างเปิดเผยอีกด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ากองกำลังด้านทหารของลิเบียได้รับการแทรกแซงอย่างรุนแรง เพื่อที่จะช่วยเหลือลิเบียในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่ จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นประเทศผู้ปกครองอย่างรัสเซียก็ไม่รอช้า มีการเร่งจะสั่งโดรนเพื่อดำเนินการปฏิบัติการตรวจตราเหนือน่านฟ้าของลิเบีย พร้อมทั้งมอสโกก็ได้สั่งให้ดำเนินการติดตั้งดาวเทียมเพื่อที่จะช่วยลิเบียติดตามการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้นในลิเบียด้วย ซึ่งการเข้ามาช่วยเหลือลิเบียของแต่ละประเทศในเหตุการณ์ครั้งนี้ต่างก็บอกว่าเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ได้หวังผลประโยชน์อื่นใด นอกจากจะช่วยกันในการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายในลิเบีย คือกลุ่มไอซิสและตักฟีรีย์ การเข้ามาช่วยเหลือของชาติมหาอำนาจเหล่านี้ถึงแม้จะไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ก็ทำไปเพื่อที่จะปราบปรามกองกำลังผู้ก่อการร้ายของไอซิส ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีรายงานว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายไอซิสที่อยู่ในลิเบียนั้นมีเพียง 5,000 คนเท่านั้น จึงเกิดข้อคำถามที่ว่า การที่ประเทศมหาอำนาจหลายๆ ประเทศจะช่วยมาช่วยเหลือลีเบียในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้ายไอซิสเพียงแค่ 5,000 คนจะเป็นไปได้อย่างไร ผู้เชียวชาญจึงมีความเชื่อว่าการเข้ามาช่วยเหลือในครั้งนี้เป็นเพียงโอกาสในการแอบอ้างเท่านั้น พร้อมทั้งยังเชื่ออีกว่าประเทศมหาอำนาจทั้งหลายจะต้องมองเห็นผลประโยชน์แอบแฝงอย่างแน่นอน จากเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าลิเบียไม่ใช่แค่พื้นที่โชคร้ายที่จะต้องเผชิญกับการถูกรุกรานจากผู้ก่อการร้ายไอซิส แต่ยังกลายเป็นสนามรบที่ประเทศมหาอำนาจใช้แข่งขันกันอีกด้วย

  • ข่าวต่างประเทศ
    civilwar_libya_scop
    20 มีนาคมในลิเบียกับสงครามที่ต้องจดจำไปตลอด

    ข่าวในลิเบียกำลังเป็นขาวใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะวันที่ 20 มีนาคม ลิเบียได้ถูกโจมตีโดยชาติตะวันตกนั้นเอง ซึ่งทหารของลิเบียได้ถูกทำลายจากทหารของฝรั่งเศส เรียกได้ว่าเป็นการเปิดสงครามอย่างเป็นทางการนั้นเอง เพราะหลายชาติไม่อาจยอมรับข้อเสนอของลิเบียได้ และความเห็นที่ไม่ตรงกับอีกหลายประเทศนั้นเลยทำให้ลิเบียถูกโจมตีจากหลายประเทศด้วยกัน โดยอเมริกาก็ได้ทำการยิงขีปนาวุธครูซไปยังลิเบีย ที่ได้ทำการสร้างป้อมป้องกันไว้นั้นเอง โดยถือว่าพวกเขาอาจจะถล่มประเทศลิเบียทิ้งเลยก็ว่าได้ ซึ่งได้มีหน่วยแพทย์สากลเข้าช่วยผู้บาดเจ็บจากการรบครั้งนี้ แต่ทางทหารของลิเบียก็ได้ทำการสกัดเอาไว้ เพราะกลัวว่าจะลอบเข้ามาทำร้ายนั้นเอง เพราะในเวลานี้ลิเบียไม่สามารถเชื่อใจใครได้นั้นเอง ซึ่งการต่อสู้ครั้งนี้ลิเบียต้องเดิมพันด้วยประชากรในประเทศก็ว่าได้ เพราะประชากรในประเทศไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลย แต่ต้องกับมาเสียชีวิตจากสงครามที่ไม่เข้าใจกันนั้นเอง ถือว่าเป็นสงครามระหว่างศาสนานั้นเอง โดยลิเบียได้เคารพในการสั่งให้หยุดยิงและถอนกองกำลังออกนั้นเอง จากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพราะเขาถือว่าการลงมติเป็นสิ่งที่ควรเคาระอย่างมาก โดยสงครามเป็นสงครามระหว่างศาสนานั่นเอง แต่สงครามนี้ก็ถือว่าเป็นสงครามที่สุญเสียประชากรไปอย่างมาก และทุกนาทีที่กำลังทำสงครามนั้นก็จะมีคนเสียชีวิตไปเรื่อยๆจนไม่สามารถรู้ได้ว่าต้องสูญเสียไปกี่คนด้วยกัน ซึ่งผู้นำของลิเบียก็พยามยามปลุกระดมกำลังใจของประกรให้ลุกขึ้นมาสู้เพื่อปกป้องประเทศของเรานั้นเอง โดยที่ให้เด็กและสตรีมาถืออาวุธในการต่อสู้เพื่อประเทศนั้นเอง ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างให้ทุกคนกำลังช่วยกันสู้ในสงครามนั้นเอง เพราะสงครามทางศาสนานี้ถือว่าเป็นสงครามที่รุนแรงอย่างมาก และต้องสู้รบกันไปโดยที่ไม่รู้ว่าสงครามจะจบวันไหน และฝ่ายไหนจะชนะในการทำสงครามครั้งนี้ เพราะว่าต่างฝ่ายต่างก็มีพันธมิตรระหว่างประเทศนั้นเอง ซึ่งการช่วยทำสงครามในครั้งนี้ก็ได้มีหลายประเทศที่เข้ามาทำด้วยนั้นเอง โดยที่ต่างช่วยกันพาเด็กและคนเจ็บไปหลบในที่ปลอดภัยอยู่นั้นเอง ซึ่งสงครามศาสนาถือว่ามีความรุนแรงเท่ากับสงครามโลกเลยทีเดียว ถ้าขึ้นชื่อว่าสงครามแล้วก็ต้องมีคนเจ็บและตายนั้นเอง ซึ่งถ้าไม่มีใครยอมยุติสงครามก็จะไม่มีวันจบลงอย่างแน่นอน แต่ถ้ามีคนมาช่วยเป็นกลางและยุติสงครามนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีไปนั้นเอง

logo-libyadaily4
สำนักข่าว Libyadaily
email_sendlogo - Email : libyadaily@gmail.com
logo_callphone - เบอร์โทรศัพท์ 0-2547-6541 - เบอร์โทรสาร : 0-2831-7461
line_logo1 - Line : Libyadailynews