• คลังข้อมูล
    Political-warfare-in-Libya
    ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามการเมืองในลิเบีย

    เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียได้ลึกขึ้นต่อสู้อีกครั้ง หลังจากการตายของอดีตผู้นำ Muammar al-Qaddafi เมื่อกรกฎาคม 2012 ทางรัฐบาลได้มอบอำนาจให้แก่ General National Congress (GNC) ซึ่งพวกเขาต้องพบกับความท้าทายมากมายในอีกสองปีข้างหน้า รวมถึงการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรงเมื่อเดือนกันยายน 2012 ที่สถานกงสุลสหรัฐฯในเบงกาซี และการแพร่กระจายของรัฐอิสลามพร้อมกับการเกิดขึ้นของกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ทั่วประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2014 ได้มีเริ่มปฏิบัติการ Operation Dignity ซึ่งเป็นแคมเปญที่ดำเนินการโดย LNA เพื่อโจมตีกลุ่มก่อการร้ายของอิสลามในลิเบียตะวันออก เพื่อต่อต้านขบวนการนี้กลุ่มติดอาวุธก่อการร้ายและกลุ่มติดอาวุธของอิสลามรวมถึง Ansar al-Sharia ก่อตั้งกลุ่มเฉพาะกิจขึ้นเรียกว่า “Libya Dawn” ในที่สุดการต่อสู้ก็เปิดฉากขึ้นที่สนามบินนานาชาติของตริโปลีท้ายที่สุดสงครามกลางเมืองปะทุขึ้น มีการเปิดฉากการต่อสู้เพื่อควบคุมสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย พันธมิตรแต่ละกลุ่มได้สร้างการปกครองส่วนตนขึ้น มีการจัดตั้งกลุ่มทหารติดอาวุธซึ่งกระจายตัวกันออกไปทั่วพื้นที่ ในความพยายามที่จะหาทางแก้ไขความขัดแย้งเพื่อให้สร้างรัฐบาลที่เป็นเอกภาพขึ้นใหม่อีกครั้ง ทำให้ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติเดินทางไปยังลิเบียนำโดย Martin Kobler การเจรจาดังกล่าวส่งผลให้เกิดข้อตกลงทางการเมืองของลิเบียและ GNA ที่องค์การสหประชาชาติให้การสนับสนุน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะตั้งหลักได้แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป GNA ยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคในการสร้างรัฐบาลที่มั่นคงขึ้นใหม่ให้ได้อีกครั้ง แถมยังมีกลุ่มหัวรุนแรงที่อาจรอลงมือก่อเหตุได้อีกทุกเมื่อทุกเวลา ความกังวลของนานาชาติที่มีต่อลิเบีย สหรัฐอเมริกาพันธมิตรยุโรป และสหประชาชาติยังคงแสดงความกังวลต่อการแตกแยกของลิเบียในครั้งนี้ ในขณะที่กลุ่มติดอาวุธได้พยายามแบ่งประเทศออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ยิ่งกว่านั้นในกรณีที่ไม่มีองค์กรปกครองหลักที่มีประสิทธิภาพมากพอจะจัดการปัญหาภายในได้ดีพอ รวมถึงมีปัญหาในด้านการการโยกย้ายถิ่นฐานของประชาชน รวมถึงปัญหาในด้านการค้ามนุษย์ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญ ลิเบียเป็นหนึ่งในสมาชิกขององค์กรเพื่อการส่งออกน้ำมัน (OPEC) […]

  • บทความ
    13hours1-shtteasernightvision-real-story
    13 Hours The Secret Soldiers of Benghazi จากเหตุการณ์จริงสู่หนังสุดระทึก

    หนังฮอลลีวู้ดต้องยอมรับเรื่องสเปเชียลเอฟเฟกต์ ระเบิดภูเขา เผากระท่อมของเค้าจริงๆ เพราะว่าเค้าทำได้สมจริง เนียนตาและทำให้คนดูเกิดอารมณ์ร่วมตามได้อย่างไม่น่าเชื่อ บางครั้งพวกเค้าก็สร้างหนังจากนวนิยายเรื่องแต่งของนักเขียนชื่อดัง แต่บางครั้งพวกเค้าก็หยิบเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงมาทำเป็นหนังอีกเหมือนกัน อย่างเช่น เรื่อง 13 Hours The Secret Soldiers of Benghazi จากเหตุการณ์จริงสู่หนังสุดระทึก 13 Hours The Secret Soldiers of Benghazi เรื่องย่อ สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่า คนสร้างได้มีความตั้งใจว่าจะถ่ายทอดเรื่องราวนี้ให้สมจริงมากที่สุด เรื่องราวมีอยู่ว่าประเทศลิเบียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อาหรับสปริง ทำให้รัฐไม่สามารถปกครองตัวเองได้ สถานทูตหลายแห่งเรียกตัวทูตกลับกันหมด เหลือแต่ประเทศสหรัฐที่ไม่ได้เรียกตัวทูตและพนักงานกลับประเทศ คืนวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 ได้มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายไม่ทราบจำนวนเข้าบุกยึดทำร้าย สถานกงสุลของสหรัฐอเมริกา ในเมืองเบงกาซี ประเทศลิเบีย ทำให้กลุ่มนายทหารที่ได้รับมอบหมายภารกิจเข้ามาเพื่อปกป้องสถานกงสุลแห่งนี้ต้องต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ถาโถมเข้ามาเรื่อยตลอด 13 ชั่วโมงจนกว่าจะมีทีมช่วยเหลือมาพาออกไปได้ เรื่องจริงที่ต้องมองให้ลึก จากเหตุการณ์นี้ต้องบอกว่ามันคือเรื่องจริง เหตุการณ์จริงแถมเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ด้วย ส่วนของหนังก็ว่ากันไป แต่เรื่องจริงต้องยอมรับว่า นี่ถือว่าเป็นรอยแผลถลอกของสหรัฐกับการเดินเกมระหว่างประเทศเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้จริงๆ แล้วทุกคนต่างเชื่อกันว่า สหรัฐคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำให้ประเทศลิเบียมีสภาพเป็นแบบนี้ พวกเค้าแอบส่งอาวุธให้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลลิเบีย รวมถึงมีการตั้งฐานทัพลับ CIA […]

  • เกาะประเด็น
    labor_thai_people_in_libia
    แรงงานไทยในสงครามต่างประเทศลิเบีย ความลำบากที่ต้องช่วยเหลือ

    การไปทำงานต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของแรงงานไทยที่จะออกไปขุดเงินขุดทองนอกประเทศเพื่อนำเงินก้อนมาตั้งตัว หรือ ส่งมาให้ทางบ้านเพื่อใช้จ่าย นอกจากกลุ่มประเทศยุโรป อีกหนึ่งตัวเลือกก็คือประเทศลิเบีย ตอนนี้แรงงานเหล่านั้นกำลังเจอปัญหาเรื่องหนี้สินที่ภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ หนีภาวะสงคราม ต้องย้อนความก่อนว่า ทำไมแรงงานไทยถึงเจอปัญหาในการไปทำงานในประเทศลิเบีย ปัญหาดังกล่าวมาจากตอนนี้ประเทศลิเบียกำลังเจอภาวะสงครามกลางเมืองอย่างรุนแรง นั่นทำให้ทางการต้องดึงคนไทยกลับประเทศด่วนเพื่อความปลอดภัย ทีนี้เมื่อพวกเค้ากลับมาก็ทำให้เกิดอาการเคว้งคว้าง ตกงาน จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องตามมา ที่มาของเงินในการไป อีกเรื่องหนึ่งที่ภาครัฐต้องรีบเข้าไปช่วยเหลือแรงงานเหล่านี้ ก็เป็นเพราะว่าแรงงานไทยเหล่านี้เวลาไปทำงานเมืองนอกเกือบทั้งหมดจะเป็นการกู้เงินออกมาเพื่อเป็นทุนในการตั้งต้นไปทำงานในประเทศลิเบีย บางคนอาจจะต้องเอาที่นา ที่ดินไปจำนองเพื่อเป็นหลักฐาน สรุปว่าที่ไปทำงานลิเบียนี้ไปทำงาน ใช้หนี้ ไม่ได้ไปทำงานใช้เงิน ที่นี่เมื่อทำงานไม่ได้ตามสัญญาพวกเค้าก็ต้องโดนหักเงินจากหนี้เหล่านั้น จนทำให้หลายคนต้องเสียที่นาไปแบบช่วยอะไรไม่ได้เลย แนวทางช่วยเหลือ แนวทางการช่วยเหลือที่ทางการจะช่วยเหลือได้ มี 3 แนวทางคือ แนวทางแรกทางภาครัฐอาจจะต้องออกเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้แรงงานเหล่านั้นมากู้ไปก่อนเพื่อนำไปโปะหนี้ จากนั้นก็จะได้นำเงินก้อนนี้ไปเป็นทุนในการดำเนินชีวิตต่อไป จะเป็นเอาเงินไปสร้างอาชีพอื่น หรือ จะไปทำงานแรงงานต่างประเทศอื่นต่อก็ได้ แนวทางที่สองภาครัฐอาจจะต้องนำแรงงานเหล่านี้ไปทำงานต่างประเทศอีกรอบก็ได้ ส่วนหนึ่งแรงงานเหล่านี้มีความพร้อม มีความต้องการไปทำงานต่างประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากภาครัฐสนับสนุนอาจจะส่งไปประเทศอื่นอย่างเช่น เกาหลี หรือ ฝั่งยุโรป ก็เป็นได้ แนวทางที่สามภาครัฐจะต้องเสริมเสริมด้านอาชีพให้กับแรงงานเหล่านั้น แรงงานกลุ่มนี้มีประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศมาแล้ว นั่นอาจจะทำให้พวกเค้าอาจจะต้องการนำความรู้ ประสบการณ์เหล่านี้มาเปิดร้านทำเองในไทยก็ได้ ภาครัฐอาจจะต้องส่งเสริมพวกเค้าให้มีอาชีพต่อไป จะเห็นว่าแรงงานไทยกลุ่มนี้ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากหากไม่ช่วยเหลือ แรงงานเหล่านี้อาจจะต้องเสียเงิน เสียทอง เสียที่ดินทำนา […]

  • คลังข้อมูล
    Intervention-in-libia
    ความวุ่นวายในลิเบีย จากการแทรกแซงภายนอก

    ประเทศสหรัฐอเมริกาพวกเค้าตั้งตัวเองเป็นตำรวจโลก เพื่อจะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นอยู่เป็นนิจ อเมริกามักจะทำให้เกิดชนวนสงครามภายในแต่ละประเทศเสมอ ลิเบีย เองก็เช่นกัน สภาพบ้านเมืองของพวกเค้าในตอนนี้มีความวุ่นวายไม่ต่างอะไรจากสงครามการเมืองเลยทีเดียว การแทรกแซงจากภายนอก ย้อนกลับไปตั้งแต่อดีต ประเทศลิเบีย มีการปกครองแบบเผด็จการนำโดย กัสดาฟี่ เค้าเป็นผู้นำของประเทศลิเบียมาอย่างยาวนาน จนทำให้หลายคนกังวลว่าการปกครองของกัสดาฟี่นั้น เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้ประชาชนอยู่อย่างยากลำบาก และอีกมากมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้อเมริกาตอนนั้นนำโดยท่านประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ตกลงจะแทรกแซงกิจการภายในประเทศด้วยการนำกองกำลังทหาร เพื่อบดขยี้กองกำลังของกัสดาฟี่ให้สิ้นซาก หลังจากสู้รับกันมานาน แน่นอนว่าด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ของอเมริกเหนือกว่าทาง ลิเบียของกัสดาฟี่อยู่หลายขุมนั่นทำให้ กัสดาฟี่ โดนจับกุมตัวในที่สุด ปิดฉากการปกครองระบบเผด็จการจากกัสดาฟี่มาอย่างยาวนาน ทุกอย่างเหมือนจะจบลงด้วยดีเหมือนหนังฮอลลีวู้ดที่เราดูกันเป็นประจำในโรงหนังใช่ไหม แต่เปล่าเลย ภาวะสูญญากาศการปกครอง ต้องยอมรับว่า กัสดาฟี่ ปกครองประเทศลิเบียมาอย่างยาวนาน ทำให้เค้ามีเครือข่ายอำนาจทุกกลุ่มมิติสังคม พอกัสดาฟี่ล้มลง ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศทางอำนาจการปกครองของประเทศ ภาวะนี้น่ากลัวมากเนื่องจากไม่ว่าใครก็อยากจะขึ้นมามีอำนาจในการปกครองประเทศด้วยกันทั้งนั้น นั่นทำให้เกิดสงครามชิงอำนาจกันในหมู่ผู้มีอำนาจ นักการเมือง ทหาร คหบดี และอีกมากมาย ยังไม่นับเชื้อขั้วอำนาจเก่าที่ยังมีอำนาจ พร้อมจะกลับมาผงาดขึ้นอีกครั้ง สงครามภายใน เมื่อความต้องการแย่งอำนาจถึงจุดยอมไม่ได้ เจรจากันไม่ลงตัว ก็ทำให้ต้องมาวัดกันด้วยความรุนแรง อาวุธ กำลังทหาร จะเห็นว่าแม้อเมริกาจะหนุนหลังรัฐบาลใหม่ที่ตั้งขึ้นก็จริง แต่รัฐบาลใหม่เองก็ต้องเจอศัตรูรอบด้านจนทำให้การบริหารประเทศกลายเป็นเรื่องยากมาก เอาแค่การดำเนินประเทศตามนโยบายก็เป็นไปไม่ได้ ประชาชนผู้รับเคราะห์ […]

  • รายงาน - สกู๊ป
    Boat-crashes-life3
    เรือผู้อพยพล่มที่ลิเบีย 90 กว่าชีวิตรอดเพียง 3 คน

    เกิดเหตุการณ์น่าสลดขึ้นเมื่อมีผู้รอดชีวิตเพียงสามคนเมื่อเรือขนลักลอบขนผู้อำนวยพลกว่า 90 คนล่มนอกชายฝั่งของลิเบีย ตามข้อมูลจาก IOM มีผู้อพยพและผู้ลี้ภัยกว่า 6,600 คนได้เข้าสู่ยุโรปโดยทางทะเลในปี พ.ศ. 2561 เรือที่ล่มนั้นใช้เส้นที่นักลักลอบชอบหลบหลีกตำรวจเพื่อนำสินค้าหรือคนเข้ามาจากประเทศอิตาลีผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเป็นเหตุให้เกิดการเรือล่มนอกชายฝั่งเมือง Zuwara ในช่วงเช้าของวันศุกร์ โดยมีผู้รอดชีวิตอย่างน้อย 3 คน โดย 2 คนเป็นชาวปากีสถาน ที่สามารถว่ายน้ำเข้าฝั่งได้ และอีกคนคือชาวลิเบียที่ถูกช่วยเหลือจากชาวประมงในท้องที่ ระหว่างที่มีศพผู้เสียชีวิตกว่า 10 ถูกพัดเข้ามาเกยฝั่ง โดยระบุสัญญาติได้คือคนปากีสถาน 8 คน และ 2 คนเป็นชาวลิเบีย จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิต คนส่วนใหญ่บนเรืออพยพนั้นเป็นชาวปากีสถานทั้งสิ้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ส่งตัวแทน Olivia Headon หาสาเหตุและสรุปได้ว่าเรือที่จมอาจมีปัยจัยหลักจากการบรรทุกผู้โดยสารที่มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เรือล่มในที่สุด บรัสเซลส์ได้ออกมาพูดถึงจุดยืน และพยายามให้ความช่วยเหลือในการกู้ภัยต่อไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงออกมาต่อกรกับผู้ค้ามนุษย์และแรงงานที่ทะให้ชีวิตของผู้อพยพเป็นอันตราย พร้อมชี้ว่าทุกชีวิตมีความหมาย IOM ได้ออกมากล่าวอีกว่านี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เพราะในหมู่คนที่เสียชีวิตคือชาวลิบยัน ตั้งแต่ปี 2017 มีชาวลิบยันที่ถูกช่วยเหลือ หรือจากการสกัดจับได้จากการพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ไม่มีรายงานว่ามีชาวลิบยันเสียชีวิตเลยนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยชี้ว่าชาวลิบยันเป็นชนกลุ่มที่พยายามจะเดินทางลี้ภัยเข้ามายังยุโรป ส่วนชาวปากีสถานนับเป็นอันดับที่ 13 ของกลุ่มที่พยายามข้ามมายังยุโรปผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรอบปี […]

  • รายงาน - สกู๊ป
    gaddafi-libya-daily
    ประวัติความเป็นมาของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี่ “สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง” อดีตผู้นำลิเบีย

    ถ้าจะให้คุณอธิบายถึงคนบางคนอย่างกัดดาฟี่ คุณจะอธิบายเรื่องราวเขาออกมาได้ในทิศทางไหนกัน ในช่วงระยะเวลากว่าหกสิบปีที่ผู้นำชาวลิเบียคนนี้ได้ขึ้นมาแสดงตัวตนต่อเวทีโลก ด้วยสไตล์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีคำไหนที่จะอธิบายการกระทำของเขาได้ดีนอกจากคำว่า “นอกรีต” ที่เขาปกครองบ้านเมืองด้วยความอยุติธรรมแบบสุดโต่ง การปกครองของเขามันอยู่เหนือเกินกว่าคำว่าการปฏิวัติ เป็นผู้ที่ทำให้บ้านเมืองกลับสู่ยุคป่าเมืองเถื่อนอีกครั้ง ประชาชนตาดำๆ จะต้องหวาดระแวงและใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นสุข กัดดาฟี่พยายามสร้างปรัชญาทางการเมืองเป็นของตัวเอง พยายามเขียนหนังสือที่มีอิทธิพลต่อจิตใจ อย่างน้อยก็กับตัวผู้เขียนเอง มีเต็มไปด้วยเรื่องราวและอุดมการณ์ลมๆ แร้งๆ เขาใช้ชีวิตของเขาในการปฏิรูปตนเองและทำการปฏิวัติประเทศในรูปแบบของเขา นักวิจารณ์อาหรับคนหนึ่งเรียกเขาว่า “ปีกัสโซแห่งตะวันออกกลาง” ถึงยังไงก็ตามเขาก็ไม่อาจต้านทานกระแสประชาชนที่ไม่อาจยอมรับในตัวเขาได้ เรื่องราวเริ่มขึ้นในช่วงเช้าวันหนึ่งของปี 1969 เมื่อเขาขึ้นครองอำนาจจากการใช้กำลังทางทหาร และในต้นปี 1970 กัดดาฟี่กลายเป็นนายทหารหนุ่มที่มีพรสวรรค์ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศเพียงข้ามวัน การต่อมาเขาก็เริ่มคิดถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการขุดเจาะน้ำมัน และมีการค้นพบแหล่งน้ำมันสำคัญๆ ในลิเบียในช่วงปลายทศวรรษ 1950 แต่กลับกลายเป็นว่ามันเป็นทรัพย์สินของ บริษัท ปิโตรเลียมในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดราคาเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคภายในประเทศของตนและได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งจากรายได้ กัดดาฟี่ เรียกร้องเจรจาต่อรองโดยให้ทำสัญญากัน แถมขู่ว่าจะปิดการผลิตหาก บริษัท น้ำมันปฏิเสธ เขาได้ท้าทายผู้บริหารน้ำมันจากต่างประเทศโดยบอกว่า “คนที่มีชีวิตอยู่โดยปราศจากน้ำมันเป็นเวลา 5,000 ปี สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้พวกมันอีกสักสองสามปี เพื่อที่จะได้รับสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย” การพนันของเขาในครั้งนี้เป็นผลสำเร็จและทำให้ลิเบียได้พัฒนาเติบโตได้จากรายได้ของน้ำมันดิบที่ผลิตในประเทศ และประเทศก็มีสิทธิมีเสียงในหมู่มหานอำนาจมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วรูปแบบการปกครองเขาก็ก็เริ่มส่อมีปัญหา เมื่อกลุ่มประชาชนเริ่มทำการก่อกบฎขึ้นจากความไม่พอใจการปกครองของเขา เป็นผลให้ผู้นำเผด็จการคนนี้ถูกจับและสังหารในวันที่ 20 ตุลาคม ปี 2011 ระหว่างสมรภูมิ Sirte […]

  • ข่าวใหม่
    Saif-al-Islam-Gaddafi-news
    ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟีแล้ว

    Saif al Islam Gaddafi บุตรชายของจอมเผด็จการลิเบีย พันเอก Muammar Gaddafi หลังจากถูกคุมขังเป็นเวลานานกว่า 5 ปีด้วยกัน โดยผู้จับคุมขังเขานั้นคือกองทัพ Abu Bakr al-Siddiq ที่แถลงว่าจะปล่อยตัวเขาในวันศุกร์ แต่ก็ไม่ได้ชี้แจ้งรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมให้ทราบมากกว่านี้ กองพันนี้มีฐานที่ตั้งอยู่ที่ Zintan เมื่อปี 2015 เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 28 กรกฎาคม 2015 โดยศาลในกรุงตริโปลีในข้อหาอาชญากรรมในช่วงสงครามกลางเมือง อย่างการสังหารหมู่ การทรมาน การทิ้งระเบิดหรือระดมยิงประชาชนที่ไร้อาวุธ โดยเขาได้ให้การปฎิเสธทุกข้อกล่าวหา นอกจากนี้อีก 8 คนที่ถูกจับมาพร้อมกับเขาถูกสั่งให้ประหารชีวิตรวมถึงอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง Abdullah al-Senoussi ที่มีศักดิ์เป็นพี่เขยของ Gaddafi แต่โทษประหารก็ยังถูกคงไว้ก่อนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดย Gaddafi ขึ้นมาครองตำแหน่งสูงสุดในประเทศจากการทำรัฐประหารในปี 1969 และเสียชีวิตในปี 2001 จากการโค่นล่มและผู้ต่อต้านโดยกองกำลังติดอาวุธ และในที่สุดลูกชายของเขาก็ถูกปล่อยตัวทางตอนใต้ของเขตเมืองหลวง Tripoli โดยได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าถูกปล่อยตัวเรียบร้อยและพวกเขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยที่อยู่ของเขาอ้างความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเขา พวกเขากล่าวว่าการปล่อยตัวของเขาถูกตัดสินว่าเป็นส่วนหนึ่งของการให้อภัยโทษล่าสุดที่ออกโดยรัฐสภาลิเบียในภาคตะวันออกของประเทศ ลูกชายของ Gaddafi ถูกจับโดยนักรบของกองทัพในช่วงปลายปี 2554 ปีแห่งการจลาจลที่ทำให้เกิดการล้มอำนาจ Gaddafi […]

  • บทความ
    Leptis-Magna-2000-year
    Leptis Magna สถานที่ท่องเที่ยวในลิเบีย แหล่งประวัติศาสตร์ของโลก

    คุณเคยรู้ไหมว่าภาพยนต์ระดับตำนานอย่าง Legend of the fall ได้สถานที่ถ่ายภาพยนต์สวยๆ จากที่ไหนบนโลกแห่งนี้ แถมยังมีสถานโบราณเก่าแก่ดูน่าสนใจอีกด้วย คำตอบก็คือที่ลิเบียไงละ โดยภาพยนต์เรื่องนี้ถ่ายทำที่ลิเบียส่วนใหญ่ ในปี 1950 ที่นำแสดงโดยจอห์นเวย์นและโซเฟียลอเรน เป็นที่สถานที่ๆ มีสุดยอดทิวทัศน์ที่สวยงามมากมาย และที่ยอดเยี่ยมที่สุดคงไม่พ้น Leptis Magna ที่สามารถมองเห็นรูปปั้นจำนวนมากยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และพวกเขาก็ยังไม่ได้ลื้อเอามันออก วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับสิ่งมหัศจรรย์ที่สวยงามใน Leptis Magna Leptis อยู่ตรงกันข้ามและเป็นหนึ่งในสถานที่โบราณที่พิเศษที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มันครอบครองพื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณสามกิโลเมตรและคาดว่าจะมีประชากร 100,000 ใกล้ๆ คือเมือง El Khums ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีประชากรประมาณ 20,000 คนเท่านั้น พื้นที่นี้ถูกขุดขึ้นและสำรวจโดยชาวอิตาเลียนในยุค 1920 และยุค 1930 กว่า 15 ปี และคิดเป็นเพียงหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ได้รับการขุดค้นทั้งหมดและยังคงมีคำถามมากมายที่รอคำตอบอยู่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่มีอยู่ก็สวยงามพอที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่อยากสัมผัสกับสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ หากจะเริ่มสำรวจควรจะไปที่ Arch of Septimius Severus เป็นสถานที่เริ่มต้นในการเดินทางไปรู้จักกับ Leptis ด้วยการปูพื้นฐานเรื่องราวต่างๆ รวมถึงภาพรวมทั้งหมดของเมือง นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่าง บ้านอาบน้ำที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างในที่ตั้งอยู่นอกกรุงโรม […]

  • ข่าวต่างประเทศ
    400 corpse
    400 กว่าศพ ในสถานการณ์ระเบิดของการปะทะกันในกรณีศาลเตี้ย

    เหตุการณ์ความไม่สงบของลิเบียยังคงไม่ทีท่าจะว่าปลอดภัย เมื่อดูจากตัวเลขของผู้สูญเสียชีวิตจากผลพวงของความรุ่นแรงที่ฆ่าชีวิตประชาชนไปกว่า 433 ศพ โดยรวมไปด้วยเด็กกว่า 79 คน และผู้หญิงอีก 10 คน โดยเป็นลูกหลงจากการโจมตีของกลุ่มคนติดอาวุธ ตั้งแต่ถูกอาวุธปืนสังหาร จนถึงการโดนสะเก็ดระเบิด โดยตัวเลขนี้มาจากรายงานของกลุ่มนักสิทธิมนุษย์ชนของลิเบียโดยตรง โดยในจำนวนที่เหลือกว่า 201 คนที่ถูกลูกหลงจากความรุนแรงจากทั่วหลายจังหวัดของทางลิเบีย โดยในจำนวนนั้นกว่า 157 คนเป็นประชาชนทั่วไป โดยพื้นที่สีแดงประกอบไปด้วย Tripoli, Sabha, Benghazi, Zawiya, Sabratha และเมืองอื่นๆ อีกสามเมือง หน่วยงานสิทธิมุนษย์ชนของลิเบีย NHRC รายงานเข้ามาอีกว่าจำนวน 143 ถูกจับตัวด้วยกำลังแบบไร้เหตุผล และอีก 186 คนที่ถูกลักพาตัวไปและปัจจุบันยังไม่รู้ชะตากรรมของพวกเขาว่าเป็นตาย ร้ายดีอย่างไร โดยมีหลักฐานความผิดอย่างชัดเจน 34 คดีที่สามารถเอาผิดได้ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่ การกักขังหน่วงเหนี่ยว การทรมาน จนทำให้ทั้งนักข่าว และนักสิทธิมนุษย์ชนถูกขู่ฆ่าจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว ปัญหาที่เกิดขึ้นยังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ประชาชนยังคงทุกข์ทรมานจากวิกฤติด้านมนุษยธรรมและการมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ประชากรขาดแคลนอาหารและการเข้าถึงยารักษาที่จำเป็น กว่า 3.5 ล้านชีวิตที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรวมถึงทางด้านการแพทย์ ในจำนวน 3.5 ล้านคนประกอบไปด้วยผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวน 391,416 ราย […]

  • รายงาน - สกู๊ป
    BenghaziPort-Libya-ship
    ลิเบียเปิดท่าเรือ Benghazi อีกครั้ง

    ท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ ณ เมือง Benghazi ซึ่งอยู่ริมฝั่งของทะเล Mediterranean ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลิเบีย ได้เปิดทำการใหม่อีกครั้งในวันอาทิตย์ หลังจากที่ปิดร้างไปนาน 3 ปี อันมีสาเหตุมาจากการสู้รบ สำนักข่าว AFP และสำนักข่าว Reuter ได้ออกมารายงานข่าวความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ณ เมือง Benghazi ประเทศลิเบีย ว่า การพาณิชย์ที่ท่าเรือ Benghazi ได้ถูกระงับลงเมื่อปี ค.ศ.2014 เนื่องจากในตอนนั้นกลุ่มติดอาวุธหลายต่อหลายกลุ่มรวมถึงกลุ่มก่อการร้าย IS ทำการเข้ายึดครองเมืองขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศลิเบีย รวมทั้งประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา หลังจากสถานการณ์ไม่สู้ดีเท่าไหร่กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ก็ถูกขับไล่ออกไปในตอนต้นเดือน กรกฎาคมปีนี้ จากฝีมือกองกำลังของ จอมพล Khalifa Haftar ซึ่งมอบการสนับสนุนให้แก่รัฐบาลทางตะวันออก โดยเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างรัฐบาลภาคตะวันตกในกรุง Trípolis ที่องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ให้การยอมรับ โดยการเปิดท่าเรือในครั้งนี้นายกรัฐมนตรี Abdullah Al Thani  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาลของลิเบียภาคตะวันออก เดินทางไปเป็นประธานพิธีการเปิดใช้ท่าเรือ Benghazi  เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม […]

logo-libyadaily4
ผู้สนับสนุนเว็บไซต์
ผู้หาแหล่งข่าว
สำนักข่าว Libyadaily
email_sendlogo - Email : libyadaily@gmail.com
logo_callphone - เบอร์โทรศัพท์ 0-2547-6541 - เบอร์โทรสาร : 0-2831-7461
line_logo1 - Line : Libyadailynews